ผู้จัดทำโครงงาน
- นายโอบอ้อม ทันใจ
- นางสาวพรรณี เปาหลิ่งหลี้
- นางสาววิภาดา ขันอาชาวะ
- นายปฐวี สุจริต
- นางสาวดรุณฉาย ทัตโถมะ
- นางสาวนิราวัลย์ ทิพทัย
ครูที่ปรึกษาโครงงาน
คุณครูปาริชาติ สุทธิเวทย์
ครูที่ปรึกษาโครงงานร่วม
คุณครูอลงกต รสจรรยา
ความสำคัญ/หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีนับว่าเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ส่งผลกระทบต่อสภาวะสังคม วิถีชีวิต ตลอดจนวัฒนธรรมของชาวล้านนาที่มีมาแต่ช้านานได้เปลี่ยนแปลงไป เนื่องมาจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตชาวบ้าน ส่วนใหญ่ก็หันมาใช้ตุงที่เป็น
ผลผลิตจากโรงงานหรือร้านค้าต่างๆ จึงทำให้คุณค่าทางจิตใจ
ลดน้อยถอยลงไป ส่งผลทำให้ขาดความเป็นเอกลักษณ์และลักษณะเฉพาะของตุงที่ถูกถ่ายทอดโดยสล่าหรือช่างฝีมือดีในอดีต และเนื่องจากคณะผู้จัดทำโครงงานมีความสนใจในเรื่อง
ตุงล้านนา ซึ่งถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ที่สื่อถึง พิธีกรรม และ
ความเชื่อของชาวล้านนาตั้งแต่อดีตไปจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น
คณะผู้จัดทำจึงได้ตกลงที่จะทำโครงงานเรื่องตุงล้านนาขึ้นมา
เพื่อนำไปเผยแพร่แก่ผู้ที่สนใจและผู้ที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสได้รู้ อีกทั้งยังได้นำมาเผยแพร่ ผ่านทาง www.blogspot.com ตลอดจนได้มีการนำเอากระดาษที่ไม่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ในรูปของ ตุงไชย
จุดประสงค์
- เพื่อให้ทราบประวัติความเป็นมาของตุงล้านนา
- เพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการทำตุงล้านนาตามขั้นตอน
- เพื่ออนุรักษ์ สืบทอด และเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่น
- เพื่อบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ากับสื่อเทคโนโลยีปัจจุบัน
- เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
- เพื่อส่งเสริมให้เกิดรายได้หรือสร้างอาชีพให้แกคนในชุมชน
- เพื่อเสริมสร้าทักษะ ความละเอียดปราณีตในการทำงานด้านตุงล้านนา
- เพื่อทำให้คนที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสและผู้สนใจได้ศึกษาเรื่องตุงล้านนา
วิธีการดำเนินงาน
- ปรึกษากันภายในกลุ่มเพื่อคิดหัวข้อโครงงานและร่วมกันวางแผนในการทำงาน
- ศึกษาค้นคว้าในเรื่องที่จะทำโครงงาน
- หาสถานที่ที่จะไปศึกษาหรือทำโครงงาน
- ติดต่อวิทยากรที่จะไปปรึกษาการทำโครงงานในสถานที่ต่างๆ
- ร่วมกันปฏิบัติทำโครงงานเรื่องตุงล้านนาตามแผนการปฏิบัติงาน
- บันทึกผลการทำโครงงาน
- สรุปการทำโครงงาน
- นำเสนอผลงาน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- ร่วมอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น
- ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
- มีความรู้ความเข้าใจในการใช้ภาษาฝรั่งเศสในการทำงาน
- สามารถนำความรุ้เรื่องตุงล้านนาไปเผนแพร่ให้ผู้ที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสหรือผู้ที่สนใจในเรื่องตุงล้านนาได้โดยผ่าน http://www.blogspot.com/com/
- สามารถสร้างเป็นอาชีพเสริมได้
- ทำให้รุ้เรื่องรามความเป็นมาของตุงล้านนามากยิ่งขึ้น
ระยะเวลาในการดำเนินงาน
26 ตุลาคม 2552 - 27 พฤศจิกายน 2552 และ
11 มกราคม 2553 - 8 กุมภาพันธ์ 2553
ขอขอบคุณ
คุณครูปาริชาติ สุทธิเวทย์ ที่ได้ทำการช่วยเหลือในเรื่องของการเรียบเรียงภาษาฝรั่งเศส
และทุกแหล่งข้อมูลและทุกแหล่งการเรียนรู้ที่มีส่วนร่วมในการทำโครงงานในครั้งนี้

แหล่งอ้างอิงจากเอกสาร
- เอกสารเรื่องประเพณีทานตุงในล้านนา
- เอกสารเรื่องตุงล้านนา ภูมิปัญญาของบรรพชน
- เอกสารเรื่องประวัติ และ วิธีการทำตุงล้านนา
- แฟ้มโครงงานเรื่องตาขุ่นล้านนา จัดทำโดยกลุ่มป๋าง ปีการศึกษา2543 โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ